แชร์

การกระทำความผิดในข้อหา ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เป็นอย่างไร?

อัพเดทล่าสุด: 5 เม.ย. 2025
177 ผู้เข้าชม

                เจ้าของผลงานสร้างสรรค์ ย่อมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย   ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พศ.2537   เจ้าของผลงานสร้างสรรค์   การเนื้อหาละครสั้น   ผู้สร้างสรรค์ความสนุกและตลก   ผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลง    นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างให้ดำเนินการสร้างสรรค์ผลงานตามสัญญาจ้าง  เหล่านี้   ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์    และต้องใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิในลิขสิทธิ์  ใช้ผลงานในการสร้างได้ต่างๆในสายงานของตนเอง

                 ดังนั้น  การนำข้อความกฎหมาย ที่มีการเผยแพร่ข่าวสารกฎหมาย ไปเผยแพร่นั้น ย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์    

                 ในแอปพลิเคชั้น เช่น  ยูทูป  เฟสบุ๊ค TikTok  Linevoom REEL   ผู้เป็นเจ้าของช่องอนุญาต  หรือยินยอมให้เผยแพร่  โดยการกดแชร์ต่างๆ  ย่อมไม่ผิด  และไม่ใช่การกระทำความเกี่ยวกับลิขสิทธิ์   เพราะ เจ้าของช่องได้รับประโยชน์  ไม่ได้เสียหายต่อผลประโยชน์ ทำให้มีผู้ชมมากขึ้น  ทำให้เกิดการมองเห็นช่องของผู้ถูกเผยแพร่มากขึ้น   อันเป็นข้อยกเว้นที่ไม่เป็นความผิดกฎหมายลิขสิทธิ์  เพราะกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น คุ้มครองผู้สร้างสรรค์งาน หรือคุ้มครองเจ้าของผลงานลิขสิทธิ์  เมื่อการเผยแพร่นั้นไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของผลงาน หรือผู้สร้างสรรค์ผลงาน  ย่อมไม่เป็นความผิด

                 เนื่องจากในยุคปัจจุบัน  มีแอปพลิเคชั่น ซึ่งเป็นสาธารณะเพื่อเปิดการมองเห็นในผลงานสร้างสรรค์ได้   และมีแอปพลิเคชั่น ซึ่งต้องชำระเงินชำระในการดาวน์โหลดผลงานสร้างสรรค์  อันมีความแตกต่างกัน  เพราะในช่องทางการดาวน์โหลดนั้น เป็นกฎหมายลิขสิทธิ์  ที่ต้องชำระเงินแก่เจ้าของผลงานลิขสิทธิ์   ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้เผยแพร่ทั่วไปเท่านั้น    การเผยแพร่ซ้ำจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างแน่นอน   เพราะเป็นการหาผลประโยชน์  หรือหารายได้จากงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่น  ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์  ไม่มีสิทธิหาผลประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ อันเป็นการสร้างสรรค์ของผู้อื่น

                 การดูดคลิปของผู้อื่น ไปใช้หารายได้ในแอปพลิเคชั่น เช่น เฟสบุ๊ค  TiKTOk  เป็นต้น  ทำให้เจ้าของคลิปเสียหายได้  อันเป็นความผิดกฎหมายลิขสิทธิ์  เพราะเป็นการนำเนื้อหาของงานสร้างสรรค์ของผู้อื่นไปหาประโยชน์ส่วนตัว ทั้งๆที่ผู้นั้น ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์  และไม่ใช่เจ้าของผลงานสร้างสรรค์แต่อย่างใด

                  ดังนั้น  กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นเรื่องใกล้ตัวมากนะครับ  ขอให้ผู้สร้างสรรค์  ( ยูปทูปเปอร์ ) (อินฟูเอนเซอร์)   รักษาผลประโยชน์ของตนเองไว้นะครับ  เพราะมีพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537  คุ้มครองตามกฎหมาย  และสามารถดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนได้นะครับ

จัดพิมพ์โดย

ทนายความตรีสุพจน์  ตันตยาภิรมย์กุล

#ทนายความ #คดีละเมิดลิขสิทธิ์  #รับปรึกษาคดีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายทั่วประเทศไทย

 

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้จำนอง ซึ่งเป็นลูกหนี้  สามารถต่อสู้คดีกับเจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้หรือไม่ ?
ในกรณีที่เจ้าหนี้ มีการเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดกฎหมาย มีการเรียกเก็บดอกเบี้ย เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยตั้งแต่ปีพ.ศ.2564 กฎหมายกำหนดไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี หากมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกำหนด มีการหักดอกเบี้ยจากต้นเงิน เหล่านี้ ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมต่อสู้คดีได้ตามกฎหมาย เป็นข้อต่อสู้ที่มีกฎหมาย มีข้อกฎหมายให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ ในการสืบพยานได้
6 เม.ย. 2025
อย่างไร? เป็นการกระทำที่เป็นความผิด " เบิกความเท็จ "  ในคดีอาญา  เป็นอย่างไร?
การกล่าวความเท็จในวันสืบพยานในคดีอาญา นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่สามารถกระทำได้ และมีโทษหนักมากนะครับ การกล่าวความเท็จ เป็นผลเสียต่อผู้กล่าวความเท็จ ผู้ที่นำความเท็จมากล่าวต่อหน้าศาลในคดีอาญา โดยรู้ความจริงอยู่แล้ว และเจตนานำความเท็จมากล่าวในการสืบพยานของศาลในคดีอาญา ความผิดสำเร็จทันที ที่รู้ความจริงแล้วยังกล่าวเท็จต่อศาลอีก ส่วนกรณีเท็จแล้วเท็จอีกมีได้มั้ย ก็อาจจะมีได้ ถ้าผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดในหลายคดี มากกว่าหนึ่งคดี เพราะเจตนาให้ศาลทราบความเท็จ หรือ มีสาเหตุกันมาก่อน มีการโกรธเคืองจึงดำเนินคดีอาญาต่อกัน และนำความเท็จมากล่าวด้วยสาเหตุดังกล่าว
6 เม.ย. 2025
ความผิดข้อหาหมิ่นประมาท  เป็นอย่างไร?
การที่จะเป็นผู้เสียหาย ในข้อหาความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้ ต้องมีรายละเอียดอย่างไร? และการแจ้งความดำเนินคดีอาญาในข้อหาหมิ่นประมาท ต้องมีรายละเอียดอย่างไร ? ผู้เสียหายต้องมีหลักฐานอะไรบ้าง? ข้อความอย่างไรที่จะเป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาท ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี ข้อยกเว้น ในความผิดข้อหาหมิ่นประมาทเป็นอย่างไร มีข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ถ้ามียกเว้นตามกฎหมาย จะสามารถดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาทได้หรือไม่ ?
5 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy