แชร์

ผู้ประกอบการรับบริหารหมู่บ้าน เป็นผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หรือไม่

อัพเดทล่าสุด: 16 ก.พ. 2025
246 ผู้เข้าชม

             กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522  กล่าวว่า ผู้ให้บริการดูแล และบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร นั้น เป็นผู้ประกอบธุรกิจ  กรณีที่มีการเรียกเก็บค่าดำเนินการกับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร  ไม่ว่าจะมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์หรือไม่ ก็ตาม  และไม่ว่าจะทำสัญญาจ้างแบบลูกจ้างของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อหลบเลี่ยงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งความจริง  การดำเนินการบริหารหมู่บ้านจัดสรรนั้น ต้องดูแลพื้นที่ทั้งหมดภายในโครงการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร  เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับหมู่บ้านจัดสรร  และพรบ จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543   ด้วยความสามารถและด้วยการดำเนินการของผู้รับบริหารหมู่บ้านจัดสรร  ( ทั้งแบบ ที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลบริษัทต่างๆ )  

                การปัดความรับผิด ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาล  ว่าเป็นเพียงแค่พนักงานลูกจ้างของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร  ทำให้เสียหายแต่ผู้บริโภค เพราะนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหาย  ในสภาพการจ้าง    และผู้รับบริหารหมู่บ้านมักจักบ่ายเบี่ยงให้ไปเรียกเก็บค่าสินไหมทดแทนกับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร  ซึ่งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่จัดสรร  กระทบต่อความเชื่อมั่นในการดูแลเครื่องสาธารณูปโภคในอนาคต  กระทบต่อสมาชิกซึ่งเสียหายและได้ชำระค่าส่วนกลาง  เพื่อมาบำรุงดูแลสาธารณูปโภคได้

                 เพื่อป้องกัน  การหลอกลวงในฐานะผู้บริโภค   ผมจึงแนะนำให้ทำสัญญาจ้างผู้บริหารโครงนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นลายลักษณ์อักษร  และกำหนดค่าดำเนินการโดยชัดแจ้ง   กำหนดข้อที่กรณีเกิดความเสียหายและนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ฝ่ายผู้รับบริหารหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจ ต้องรับผิดต่อสมาชิก และบุคคลภายนอก โดยไม่มีเงื่อนไข และป้องกันผลประโยชน์ของสมาชิกที่ชำระค่าส่วนกลาง รวมทั้งปกป้องผลประโยชน์ของโครงนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จากความเสียหายในอนาคตได้

เขียนโดย

ทนายความตรีสุพจน์ ตันตยาภิรมย์กุล

#ทนายความ #ทนายความที่ปรึกษาโครงการนิติบุคคลจัดสรร #ทนายความที่ปรึกษาคอนโด

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้จำนอง ซึ่งเป็นลูกหนี้  สามารถต่อสู้คดีกับเจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้หรือไม่ ?
ในกรณีที่เจ้าหนี้ มีการเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดกฎหมาย มีการเรียกเก็บดอกเบี้ย เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยตั้งแต่ปีพ.ศ.2564 กฎหมายกำหนดไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี หากมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกำหนด มีการหักดอกเบี้ยจากต้นเงิน เหล่านี้ ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมต่อสู้คดีได้ตามกฎหมาย เป็นข้อต่อสู้ที่มีกฎหมาย มีข้อกฎหมายให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ ในการสืบพยานได้
6 เม.ย. 2025
อย่างไร? เป็นการกระทำที่เป็นความผิด " เบิกความเท็จ "  ในคดีอาญา  เป็นอย่างไร?
การกล่าวความเท็จในวันสืบพยานในคดีอาญา นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่สามารถกระทำได้ และมีโทษหนักมากนะครับ การกล่าวความเท็จ เป็นผลเสียต่อผู้กล่าวความเท็จ ผู้ที่นำความเท็จมากล่าวต่อหน้าศาลในคดีอาญา โดยรู้ความจริงอยู่แล้ว และเจตนานำความเท็จมากล่าวในการสืบพยานของศาลในคดีอาญา ความผิดสำเร็จทันที ที่รู้ความจริงแล้วยังกล่าวเท็จต่อศาลอีก ส่วนกรณีเท็จแล้วเท็จอีกมีได้มั้ย ก็อาจจะมีได้ ถ้าผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดในหลายคดี มากกว่าหนึ่งคดี เพราะเจตนาให้ศาลทราบความเท็จ หรือ มีสาเหตุกันมาก่อน มีการโกรธเคืองจึงดำเนินคดีอาญาต่อกัน และนำความเท็จมากล่าวด้วยสาเหตุดังกล่าว
6 เม.ย. 2025
การกระทำความผิดในข้อหา ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เป็นอย่างไร?
ในปัจจุบัน มีการสร้างงานอันเป็นงานสร้างสรรค์มากกว่า ในหลายปีที่ผ่านมา เพราะทุกวันนี้ มีแอปพลิเคชั่น ที่เผยแพร่งานลิขสิทธิ์ ได้มากกว่าหลายปีที่ผ่านมา เช่น การสร้างสรรค์ผลงานด้านการตลาด การสร้างสรรค์ผลในความตลก การสร้างสรรค์ผลงานเพลง การสร้างสรรค์ผลงานละครหรือเรื่องสั้นต่างๆ การสร้างสรรค์การลำดับภาพต่างๆ มีกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์คุ้มครองผลงานสร้างสรรค์เหล่านี้ และมีข้อยกเว้น การเผยแพร่ข่าวสารทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ลิขสิทธิ์ เพราะเปิดโอกาสให้สังคมรับทราบข่าวสารทั่วไป การเผยแพร่กฎหมายต่างๆ ไม่ใช่การลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เพราะต้องการให้สังคมรับทราบกฎหมายต่างๆ ข้อยกเว้นที่ไม่เป็นความผิดในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ จึงมีความสำคัญเช่นกัน ในการฟ้องคดีพรบ ลิขสิทธิ์ และการต่อสู้คดีลิขสิทธิ์
5 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy