แชร์

การเรียนนิติศาสตร์ เพื่อมาอยู่ในกระบวนการยุติธรรม และประกอบวิชาชีพ ต้องปฏิบัติอย่างไร?

อัพเดทล่าสุด: 16 ก.พ. 2025
183 ผู้เข้าชม

               ผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย และวิชาชีพกฎหมาย  รวมถึงพนักงานอัยการ ผู้พิพากษา  ต้องมีการวางแผนและศึกษาด้วยตนเอง   การค้นพบแนวทางด้วยตนเอง  และรวมถึงการปรึกษารุ่นพี่  ก็มีประโยชน์ในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วงการกฎหมาย และวิชาชีพ รวมทั้งหน้าที่ที่ต้องใช้กฎหมาย

                ปัญหาที่สำคัญ   คือ  ความเข้าใจต่อเอกสารด้านกฎหมาย เช่น คำฟ้อง คำร้อง คำคู่ความต่างๆ  รวมทั้ง การวางแผนเพื่อจัดทำเอกสารต่างๆ  การรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง   การไปติดต่อศาล  การไปติดต่อสถานีตำรวจ  การติดเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย   เหล่านี้  เป็นการแรก  และมองข้ามไม่ได้   การดำเนินการต่างๆต้องเป็นไปตามกฎหมาย และมีการใช้กฎหมาย    หากใช้การท่องจำกฎหมายเท่านั้น   ผมยืนยันว่าไม่เหมาะสมกับการเริ่มต้นในสายงานกฎหมาย   แม้จักมีการติวกฎหมายกันแพร่หลาย  เหล่านั้น ยังเกิดปัญหาในการเริ่มต้นในวงการกฎหมายได้

                   อีกทั้ง ในส่วนการสื่อสาร  และการแสดงความคิดเห็นด้านกฎหมาย เป็นสิ่งที่บอกคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาในงานต่อไปในอนาคต

                    การใส่ใจต่อข้อกฎหมาย นั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก  เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมายโดยครบถ้วน   หากไม่สามารถเข้าใจกฎหมายอย่างลึกซึ้ง  ย่อมกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมได้  และเป็นปัญหาที่ต้องไม่เกิดขึ้น   เพื่อรักษามาตรฐานกระบวนยุติธรรมไทยเอาไว้

                    เบื้องต้น ในการเข้าสู่สายงานด้านกฎหมาย ย่อมต้องมีการสัมภาษณ์ข้อกฎหมายอย่างแน่นอน  การสื่อสารกฎหมายเป็นสิ่งที่กำหนดความสำเร็จได้  ทางสำนักงานผมก็เช่นกัน  ผมใส่ใจต่อกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายโดยครบถ้วน  เพื่อรักษามาตรฐานวิชาชีพทนายความไทยและกระบวนการยุติธรรมไทยต่อไปครับ

เขียนโดย

ทนายความตรีสุพจน์ ตันตยาภิรมย์กุล

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้จำนอง ซึ่งเป็นลูกหนี้  สามารถต่อสู้คดีกับเจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้หรือไม่ ?
ในกรณีที่เจ้าหนี้ มีการเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดกฎหมาย มีการเรียกเก็บดอกเบี้ย เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยตั้งแต่ปีพ.ศ.2564 กฎหมายกำหนดไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี หากมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกำหนด มีการหักดอกเบี้ยจากต้นเงิน เหล่านี้ ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมต่อสู้คดีได้ตามกฎหมาย เป็นข้อต่อสู้ที่มีกฎหมาย มีข้อกฎหมายให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ ในการสืบพยานได้
6 เม.ย. 2025
อย่างไร? เป็นการกระทำที่เป็นความผิด " เบิกความเท็จ "  ในคดีอาญา  เป็นอย่างไร?
การกล่าวความเท็จในวันสืบพยานในคดีอาญา นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่สามารถกระทำได้ และมีโทษหนักมากนะครับ การกล่าวความเท็จ เป็นผลเสียต่อผู้กล่าวความเท็จ ผู้ที่นำความเท็จมากล่าวต่อหน้าศาลในคดีอาญา โดยรู้ความจริงอยู่แล้ว และเจตนานำความเท็จมากล่าวในการสืบพยานของศาลในคดีอาญา ความผิดสำเร็จทันที ที่รู้ความจริงแล้วยังกล่าวเท็จต่อศาลอีก ส่วนกรณีเท็จแล้วเท็จอีกมีได้มั้ย ก็อาจจะมีได้ ถ้าผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดในหลายคดี มากกว่าหนึ่งคดี เพราะเจตนาให้ศาลทราบความเท็จ หรือ มีสาเหตุกันมาก่อน มีการโกรธเคืองจึงดำเนินคดีอาญาต่อกัน และนำความเท็จมากล่าวด้วยสาเหตุดังกล่าว
6 เม.ย. 2025
การกระทำความผิดในข้อหา ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เป็นอย่างไร?
ในปัจจุบัน มีการสร้างงานอันเป็นงานสร้างสรรค์มากกว่า ในหลายปีที่ผ่านมา เพราะทุกวันนี้ มีแอปพลิเคชั่น ที่เผยแพร่งานลิขสิทธิ์ ได้มากกว่าหลายปีที่ผ่านมา เช่น การสร้างสรรค์ผลงานด้านการตลาด การสร้างสรรค์ผลในความตลก การสร้างสรรค์ผลงานเพลง การสร้างสรรค์ผลงานละครหรือเรื่องสั้นต่างๆ การสร้างสรรค์การลำดับภาพต่างๆ มีกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์คุ้มครองผลงานสร้างสรรค์เหล่านี้ และมีข้อยกเว้น การเผยแพร่ข่าวสารทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ลิขสิทธิ์ เพราะเปิดโอกาสให้สังคมรับทราบข่าวสารทั่วไป การเผยแพร่กฎหมายต่างๆ ไม่ใช่การลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เพราะต้องการให้สังคมรับทราบกฎหมายต่างๆ ข้อยกเว้นที่ไม่เป็นความผิดในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ จึงมีความสำคัญเช่นกัน ในการฟ้องคดีพรบ ลิขสิทธิ์ และการต่อสู้คดีลิขสิทธิ์
5 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy