การเรียนนิติศาสตร์ เพื่อมาอยู่ในกระบวนการยุติธรรม และประกอบวิชาชีพ ต้องปฏิบัติอย่างไร?
ผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย และวิชาชีพกฎหมาย รวมถึงพนักงานอัยการ ผู้พิพากษา ต้องมีการวางแผนและศึกษาด้วยตนเอง การค้นพบแนวทางด้วยตนเอง และรวมถึงการปรึกษารุ่นพี่ ก็มีประโยชน์ในการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่วงการกฎหมาย และวิชาชีพ รวมทั้งหน้าที่ที่ต้องใช้กฎหมาย
ปัญหาที่สำคัญ คือ ความเข้าใจต่อเอกสารด้านกฎหมาย เช่น คำฟ้อง คำร้อง คำคู่ความต่างๆ รวมทั้ง การวางแผนเพื่อจัดทำเอกสารต่างๆ การรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การไปติดต่อศาล การไปติดต่อสถานีตำรวจ การติดเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เหล่านี้ เป็นการแรก และมองข้ามไม่ได้ การดำเนินการต่างๆต้องเป็นไปตามกฎหมาย และมีการใช้กฎหมาย หากใช้การท่องจำกฎหมายเท่านั้น ผมยืนยันว่าไม่เหมาะสมกับการเริ่มต้นในสายงานกฎหมาย แม้จักมีการติวกฎหมายกันแพร่หลาย เหล่านั้น ยังเกิดปัญหาในการเริ่มต้นในวงการกฎหมายได้
อีกทั้ง ในส่วนการสื่อสาร และการแสดงความคิดเห็นด้านกฎหมาย เป็นสิ่งที่บอกคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาในงานต่อไปในอนาคต
การใส่ใจต่อข้อกฎหมาย นั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมายโดยครบถ้วน หากไม่สามารถเข้าใจกฎหมายอย่างลึกซึ้ง ย่อมกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมได้ และเป็นปัญหาที่ต้องไม่เกิดขึ้น เพื่อรักษามาตรฐานกระบวนยุติธรรมไทยเอาไว้
เบื้องต้น ในการเข้าสู่สายงานด้านกฎหมาย ย่อมต้องมีการสัมภาษณ์ข้อกฎหมายอย่างแน่นอน การสื่อสารกฎหมายเป็นสิ่งที่กำหนดความสำเร็จได้ ทางสำนักงานผมก็เช่นกัน ผมใส่ใจต่อกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายโดยครบถ้วน เพื่อรักษามาตรฐานวิชาชีพทนายความไทยและกระบวนการยุติธรรมไทยต่อไปครับ
เขียนโดย
ทนายความตรีสุพจน์ ตันตยาภิรมย์กุล