แชร์

ผู้รับเหมาก่อสร้าง คู่สัญญาหน่วยงานรัฐ ก่อให้ความเสียหายกับประชาชน ต้องดำเนินการอย่างไร ?

อัพเดทล่าสุด: 20 ก.พ. 2025
168 ผู้เข้าชม
                กรณีเขตอำนาจศาลที่มีเขตอำนาจตัดสินคดี  กรณีผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ  ละเลยวิธีการความปลอดภัยแก่ประชาชนทั่วไป  เป็นคดีปกครองซึ่งเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนในการละเลยวิธีการความปลอดภัยดังกล่าว  
                 ต่อมา  เมื่อประชาชนผู้เสียหายต้องยื่นเรียกร้องค่าเสียหาย กับใครได้บ้าง?   ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ว่าใครเป็นผู้ละเลยวิธีการปลอดภัย อย่างไร มีรายละเอียดอย่างไร   ผู้เสียหายต้องแจ้งให้หน่วยงานรัฐทราบความเสียหาย  เพื่อดำเนินการต่อไป
                การแสดงวิธีการเพื่อความปลอดภัย นั้น เป็นมาตรฐานในการก่อสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ  เนื่องจากรัฐนั้นมีหน้าที่จัดการความปลอดภัยตามกฎหมาย  ในกฎหมายจัดตั้งหน่วยงานของรัฐเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย  และเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายปกครอง ซึ่งมีหน้าที่ต้องจัดการ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ในการเดินทาง  ความสะอาดปลอดภัย  คุณภาพชีวิตที่ดี   เพราะเป็น       สิ่งสำคัญในการจัดตั้งหน่วยงานรัฐตามกฎหมายขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายปกครอง
                 การดำเนินการขอรายละเอียดและเอกสารพยานหลักฐานต่างๆ ของประชาชนผู้เสียหาย เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และไม่อาจมองข้ามในขั้นตอนนี้  เพราะเป็นขั้นตอนแรก เพื่อทราบรายละเอียดของผู้รับเหม่าข้างต้น   การรวบรวมและตรวจสอบให้ถูกต้อง จึงเป็นการเรียกร้องที่สุจริตและป้องกันความเสียหายที่ซับซ้อนได้  ทำให้เกิดความรวดเร็ว และเป็นธรรม ต่อประชาชนผู้เสียหาย
                  ขั้นตอนแรก ในการรวบรวมรายละเอียดของผู้รับเหม่าก่อสร้างข้างต้น  จะต้องมีการรวบรวมพยานหลักฐานตามกฎหมาย  และไม่ให้พยานหลักฐานนั้น ต้องห้ามในการรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลต่อไป
                 สิ่งต่างๆเหล่านี้ นั้นมีความใกล้ตัวกับประชาชนทั่วไป   ในการเข้าถึง และ รับบริการตามกฎหมาย และหากเกิดความเสียหาย ต้องทราบขั้นตอนในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายต่อไป  เพื่อไม่กระทบสิทธิตามกฎหมาย และเป็นทางออกให้กับประชาชนซึ่งได้รับความเสียหาย
เขียนโดย
ทนายความตรีสุพจน์ ตันตยาภิรมย์กุล
#ทนายความ #ที่ปรึกษาและทนายความคดีปกครองในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน #ทนายความคดีปกครอง

 

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้จำนอง ซึ่งเป็นลูกหนี้  สามารถต่อสู้คดีกับเจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้หรือไม่ ?
ในกรณีที่เจ้าหนี้ มีการเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดกฎหมาย มีการเรียกเก็บดอกเบี้ย เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยตั้งแต่ปีพ.ศ.2564 กฎหมายกำหนดไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี หากมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกำหนด มีการหักดอกเบี้ยจากต้นเงิน เหล่านี้ ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมต่อสู้คดีได้ตามกฎหมาย เป็นข้อต่อสู้ที่มีกฎหมาย มีข้อกฎหมายให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ ในการสืบพยานได้
6 เม.ย. 2025
อย่างไร? เป็นการกระทำที่เป็นความผิด " เบิกความเท็จ "  ในคดีอาญา  เป็นอย่างไร?
การกล่าวความเท็จในวันสืบพยานในคดีอาญา นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่สามารถกระทำได้ และมีโทษหนักมากนะครับ การกล่าวความเท็จ เป็นผลเสียต่อผู้กล่าวความเท็จ ผู้ที่นำความเท็จมากล่าวต่อหน้าศาลในคดีอาญา โดยรู้ความจริงอยู่แล้ว และเจตนานำความเท็จมากล่าวในการสืบพยานของศาลในคดีอาญา ความผิดสำเร็จทันที ที่รู้ความจริงแล้วยังกล่าวเท็จต่อศาลอีก ส่วนกรณีเท็จแล้วเท็จอีกมีได้มั้ย ก็อาจจะมีได้ ถ้าผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดในหลายคดี มากกว่าหนึ่งคดี เพราะเจตนาให้ศาลทราบความเท็จ หรือ มีสาเหตุกันมาก่อน มีการโกรธเคืองจึงดำเนินคดีอาญาต่อกัน และนำความเท็จมากล่าวด้วยสาเหตุดังกล่าว
6 เม.ย. 2025
การกระทำความผิดในข้อหา ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เป็นอย่างไร?
ในปัจจุบัน มีการสร้างงานอันเป็นงานสร้างสรรค์มากกว่า ในหลายปีที่ผ่านมา เพราะทุกวันนี้ มีแอปพลิเคชั่น ที่เผยแพร่งานลิขสิทธิ์ ได้มากกว่าหลายปีที่ผ่านมา เช่น การสร้างสรรค์ผลงานด้านการตลาด การสร้างสรรค์ผลในความตลก การสร้างสรรค์ผลงานเพลง การสร้างสรรค์ผลงานละครหรือเรื่องสั้นต่างๆ การสร้างสรรค์การลำดับภาพต่างๆ มีกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์คุ้มครองผลงานสร้างสรรค์เหล่านี้ และมีข้อยกเว้น การเผยแพร่ข่าวสารทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ลิขสิทธิ์ เพราะเปิดโอกาสให้สังคมรับทราบข่าวสารทั่วไป การเผยแพร่กฎหมายต่างๆ ไม่ใช่การลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เพราะต้องการให้สังคมรับทราบกฎหมายต่างๆ ข้อยกเว้นที่ไม่เป็นความผิดในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ จึงมีความสำคัญเช่นกัน ในการฟ้องคดีพรบ ลิขสิทธิ์ และการต่อสู้คดีลิขสิทธิ์
5 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy