แชร์

นายจ้างต้องร่วมรับผิดต่อลูกจ้าง ในกรณีความเสียหายจากเหตุคดีจราจร อย่างไร?

อัพเดทล่าสุด: 20 ก.พ. 2025
164 ผู้เข้าชม

                  ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายผิด ในคดีจราจร และก่อความเสียหาย ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ประชาชนทั่วไปได้รับบาดเจ็บ   ภายหลังที่บริษัทประกันภัยจ่ายค่าเยียวยาตามกรมธรรม์แล้ว และพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจ่ายค่าทดแทนและค่ารักษาพยาบาลแล้ว

                   หาก ผู้เสียหายถึงแก่ชีวิต  หรือ ต้องรักษาตัวต่อเนื่องตามคำวินิจฉัยของแพทย์ หรือ   ผู้เสียหายต้องทนทุกข์เสียหายต่ออวัยวะต่างๆ   เหล่านี้ ก็มีเหตุจำเป็นในการที่จะเรียกร้องกับนายจ้างให้ร่วมรับผิดต่อความเสียหายซึ่งลูกจ้างเป็นฝ่ายประมาทในเหตุจราจร ขับรถโดยประมาทได้ตามกฎหมาย

                   แล้ว นายจ้างจักต้องรับผิดเป็นจำนวนเท่าไร  นั้น เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี และฝ่ายที่กล่าวอ้างกล่าวคือ ฝ่ายครอบครัวของผู้เสียหาย หรือกรณีผู้เสียหาย ต้องนำพยานหลักฐานแสดงต่อศาลในชั้นพิจารณาคดีโดยชัดแจ้ง  และหากมีการเรียกร้องค่าสินไหมดทดแทนเกินกว่า 3 แสนบาท ต้องชำระค่าขึ้นศาลตามกฎหมาย ในอัตราร้อยละ 2 ของค่าสิไหมดทดแทน  ซึ่งฝ่ายครอบครัวของผู้เสียหาย หรือกรณีผู้เสียหายยื่นฟ้องได้เอง ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

                   สรุปว่า   นายจ้างจักต้องรับผิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเสียหายและพยานหลักฐานนะครับ   และสิ่งเหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดี และต้องเตรียมให้พร้อมก่อนฟ้องคดีภายในอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ครับ

เขียนโดย

ทนายความตรีสุพจน์ ตันตยาภิรมย์กุล

#ทนายความ   #ทนายความคดีจราจร และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้จำนอง ซึ่งเป็นลูกหนี้  สามารถต่อสู้คดีกับเจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้หรือไม่ ?
ในกรณีที่เจ้าหนี้ มีการเรียกเก็บดอกเบี้ยผิดกฎหมาย มีการเรียกเก็บดอกเบี้ย เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยตั้งแต่ปีพ.ศ.2564 กฎหมายกำหนดไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี หากมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินกำหนด มีการหักดอกเบี้ยจากต้นเงิน เหล่านี้ ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมต่อสู้คดีได้ตามกฎหมาย เป็นข้อต่อสู้ที่มีกฎหมาย มีข้อกฎหมายให้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ ในการสืบพยานได้
6 เม.ย. 2025
อย่างไร? เป็นการกระทำที่เป็นความผิด " เบิกความเท็จ "  ในคดีอาญา  เป็นอย่างไร?
การกล่าวความเท็จในวันสืบพยานในคดีอาญา นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่สามารถกระทำได้ และมีโทษหนักมากนะครับ การกล่าวความเท็จ เป็นผลเสียต่อผู้กล่าวความเท็จ ผู้ที่นำความเท็จมากล่าวต่อหน้าศาลในคดีอาญา โดยรู้ความจริงอยู่แล้ว และเจตนานำความเท็จมากล่าวในการสืบพยานของศาลในคดีอาญา ความผิดสำเร็จทันที ที่รู้ความจริงแล้วยังกล่าวเท็จต่อศาลอีก ส่วนกรณีเท็จแล้วเท็จอีกมีได้มั้ย ก็อาจจะมีได้ ถ้าผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดในหลายคดี มากกว่าหนึ่งคดี เพราะเจตนาให้ศาลทราบความเท็จ หรือ มีสาเหตุกันมาก่อน มีการโกรธเคืองจึงดำเนินคดีอาญาต่อกัน และนำความเท็จมากล่าวด้วยสาเหตุดังกล่าว
6 เม.ย. 2025
การกระทำความผิดในข้อหา ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เป็นอย่างไร?
ในปัจจุบัน มีการสร้างงานอันเป็นงานสร้างสรรค์มากกว่า ในหลายปีที่ผ่านมา เพราะทุกวันนี้ มีแอปพลิเคชั่น ที่เผยแพร่งานลิขสิทธิ์ ได้มากกว่าหลายปีที่ผ่านมา เช่น การสร้างสรรค์ผลงานด้านการตลาด การสร้างสรรค์ผลในความตลก การสร้างสรรค์ผลงานเพลง การสร้างสรรค์ผลงานละครหรือเรื่องสั้นต่างๆ การสร้างสรรค์การลำดับภาพต่างๆ มีกฎหมายพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์คุ้มครองผลงานสร้างสรรค์เหล่านี้ และมีข้อยกเว้น การเผยแพร่ข่าวสารทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ลิขสิทธิ์ เพราะเปิดโอกาสให้สังคมรับทราบข่าวสารทั่วไป การเผยแพร่กฎหมายต่างๆ ไม่ใช่การลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เพราะต้องการให้สังคมรับทราบกฎหมายต่างๆ ข้อยกเว้นที่ไม่เป็นความผิดในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ จึงมีความสำคัญเช่นกัน ในการฟ้องคดีพรบ ลิขสิทธิ์ และการต่อสู้คดีลิขสิทธิ์
5 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy